ดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็ก

ศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป (สยามพารากอน)
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จาการสำรวจและศึกษา ค้นพบว่านักศึกษาที่เข้าเรียนวิชาดนตรีในระดับปริญญาตรีมีความรู้ความสามารถไม่พอ เนื่องจากความรู้พื้นฐานทางดนตรีน้อยและเริ่มเรียนดนตรีช้าเกินไป นอกจากนี้เด็กที่เรียนดนตรีไม่ได้มีความสนใจดนตรีเท่าที่ควร จึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย ทำไม่เด็กไทยแตกต่างไปจากเด็กที่เล่นดนตรีในยุโรป ทำไมเด็กปี่พาทย์เล่นดนตรีตั้งแต่ยังเล็กและเก่งได้ ทำไม่เด็กเรียนดนตรีที่โรงเรียนแล้วไม่เก่งเป็นต้น

เมื่อเดือนเมษายน 2538 คณะผู้บริหารศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ ได้จัดมหกรรมดนตรี มีการประกวดวงดนตรีเครื่องเป่า การแสดงดนตรีคลาสสิค นิทรรศการดนตรี ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้คนพอสมควร เมื่อสิ้นสุดงานมหกรรมดนตรีทางผู้บริหารเสรีเซ็นเตอร์ก็เสนอให้ช่วยคิด โครงการต่อเนื่อง ดังนั้นโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปจึงถูกนำเสนอทันที 
โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกรกฎาคม 2538 แล้วเสร็จเปิดโครงการเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2538 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปแห่งแรกขึ้น ณ ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์     เป็นโครงการนำร่องของการนำมหาวิทยาลัยนอกระบบ บริหารจัดการด้วยตนเอง จัดกิจกรรมดนตรี ทำหน้าที่ทางวิชาการ และบริการสังคม โดยมีประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้คอยดูแล

โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป เป็นโครงการที่ใช้เป็นสนามสำหรับงานวิจัยดนตรี เพื่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษาและความเชื่อเรื่อง “พรสวรรค์” แต่สิ่งสำคัญสุดก็คือ โครงการนี้เป็นหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปนอกวิทยาลัยฯ ที่สนใจจะเรียนดนตรีในลักษณะที่มีหลักสูตรเป็นมาตรฐาน มีการจัดการเรียนการสอนจนกระทั่งถึงการสอบวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ

งานวิจัยพรสวรรค์ศึกษาในโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป ทำหน้าที่ศึกษาค้นความความถนัดและความสามารถทางดนตรีของเด็ก ขณะเดียวกันก็เปิดรับบุคคลทั่วไปที่อยากจะเรียนดนตรีเพื่อความสุขส่วนตัว เรียนดนตรีเพื่อเป็นหุ้นส่วนของชีวิตหรือเรียนดนตรีเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจก็ตาม ซึ่งมีผู้สนในเข้าเรียนและส่งลูกหลานเข้าเรียนดนตรีจำนวนมาก จากนั้น วิทยาลัยเกิดความคิดที่จะขยายโครงการดังกล่าว เพื่อรองรับประชาชนที่สนใจทางด้านดนตรีซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ“โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป  ศูนย์การค้าสยามพารากอน  จึงถือเกิดขึ้น เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2548 จึงถึง เดือน เมษายน 2549 และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549  ภายใต้ปรัชญาอันสำคัญยิ่ง  โดยมุ่งเน้นที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถทางดนตรีได้รับการฝึกฝนอย่างมืออาชีพ  เน้นหลักดนตรีปฏิบัติและระเบียบวินัยของนักดนตรีที่ดี  เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนดนตรีให้เป็นมาตรฐานสากล  และเป็นศูนย์กลางการจัดฝึกอบรมดนตรีประเภทต่างๆ  ตลอดจนเป็นศูนย์บริการวิชาการในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์  ตำรา  ซีดี การให้บริการซ่อมเครื่องดนตรี  และจำหน่ายอุปกรณ์ดนตรีที่มีคุณภาพ  อีกทั้งยังเป็นการสร้างการศึกษาทางด้านดนตรีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 

โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป เป็นโครงการที่ใช้เป็นสนามสำหรับงานวิจัยดนตรีเพื่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษาและความเชื่อเรื่องพรสวรรค์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เป็นหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจจะเรียนดนตรีอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดสอนวิชาดนตรีทุกเครื่องมือให้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดพื้นความรู้ และยังเป็นที่จัดการศึกษาอบรมดนตรีหลักสูตรพิเศษเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพในวงการดนตรี และบุคคลทั่วไป นับเป็นโครงการของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนดนตรีสนศูนย์การค้าแห่งแรก ต่อมาได้มีการเปิดสอนดนตรีและวิชาอื่น ๆ ในศูนย์การค้ากันทั่วไป กลายเป็นแนวการจัดการศึกษาสมัยใหม่ของกรุงเทพฯ

ปัจจุบัน โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป(สยามพารากอน)เปิดสอนด้วยกัน 4 สาขาดังนี้

  1. การสอนดนตรีปฏิบัติ  สำหรับทุกเครื่องมือทั้งเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากล  ทั้งนี้เปิดสอนเดี่ยวแบบตัวต่อตัว    คู่  และกลุ่ม  ด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี
  2. การสอนดนตรีสำหรับเด็ก  โดยเปิดรับเด็กเล็กตั้งแต่อายุ  3  ขวบครึ่งเป็นต้นไป  เข้ารับการเรียนพื้นฐานด้านดนตรีและเครื่องดนตรี  พร้อมทั้งฝึกพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้าน
  3. การสอนขับร้องเพลงไทยและเพลงสากล ทั้งหลักสูตรเฉพาะกิจระยะสั้นสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนขับร้องเพื่อความสุขส่วนตัว    และหลักสูตรการขับร้องมาตรฐานของวิทยาลัย
  4. การสอนทฤษฎีดนตรีและโสตทักษะ สำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ที่เตรียมตัวสอบเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ทั้งในระดับเตรียมอุดมฯ  และระดับปริญญาตรี 

นอกจากนี้  โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป(สยามพารากอน)  ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจดนตรีได้พัฒนาศักยภาพ  โดยจะเปิดฝึกอบรมในหัวข้อต่างๆ  เช่น  ดนตรีบำบัด  กฏหมายลิขสิทธ์  และกฏหมายธุรกิจดนตรี  ศิลปการควบคุมวงดนตรี ฯลฯ  ตลอดปี    อีกทั้งยังให้บริการกับผู้ที่ประสงค์จะใช้วงดนตรีทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล  เพื่อแสดงในโอกาสต่างๆ และยังจัดจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ดนตรี  อาทิ  เครื่องดนตรี  โน้ตเพลง  หนังสือตำราดนตรี  ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องดนตรี  อีกทั้งโครงการฯยังจัดให้มีกิจกรรมการแสดงดนตรีของนักเรียนและการบรรยายพิเศษจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประจำทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา  13.00  น.เป็นต้นไป  เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ดนตรีและยังเป็นเวทีให้นักเรียนได้แสดงความสามารถและทักษะทางดนตรีอีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป(สยามพารากอน) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล
ห้องเลขที่ 4A5-6 ชั้น 4A โซน  Edutainment  ศูนย์การค้าสยามพารากอน  โทรศัพท์ 0-2129-4542-6 

e-mail : mcgp.mahidol@gmail.com
Facebook/mcgp paragon
หรือที่  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์   มหาวิทยาลัยมหิดล  ถ.พุทธมณฑลสาย 4  ต.ศาลายา  อ.พุทธมณฑล 
จ.นครปฐม โทรศัพท์ 0-2800-2525-34

Shop name                 โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล (สยามพารากอน)
                                      Music Campus for General Public, College of Music, Mahidol University  (Siam Paragon)
Room number             4A5 – 6  ชั้น  4A
Telephone                    0-2129-4542-6 , Fax  0.2129-4547
Website                        www.mcgp-mahidol.com, www.music.mahidol.ac.th , Facebook MCGP Paragon
Service Hour                Mon. – Fri.  :  10.00 – 20.00,       Sat. – Sun.  :  9.00 – 20.00


ปรัชญาของวิทยาลัยฯ

“ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล  สถาบันดนตรีที่มุ่งเน้น  สอนคนดนตรี  ให้เป็นทั้งคนดี  และคนเก่ง ”